ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หลักสูตร (ปิดหลักสูตร ปี พ.ศ.2565)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์
Master of Science (Veterinary Parasitology)

 

สถานภาพของหลักสูตร (ปิดหลักสูตร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559 แผน ก แบบ ก 2

ข้อมูลทั่วไป
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์ ผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ รวมทั้งมีคุณธรรม และ จริยธรรม ในด้านวิชาการให้มีความรู้และเชี่ยวชาญปรสิตทางสัตวแพทย์ ให้สามารถและประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาให้กับสังคมไทยและเพื่อพัฒนาประเทศ

คุณสมบัติของผู้สมัคร
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางสาขาสัตวแพทย์  สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น สาขาชีววิทยา สาขาสัตววิทยา  สาขาวิทยาศาสตรชีวภาพป่าไม

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา แผน ก 1 แผน ก 2 แผน ข
วิชาเอก 24
สัมมนา 2
วิชาเอกบังคับ 3
วิชาเอกเลือก 19
วิทยานิพนธ์ 12
หน่วยกิตรวม 36

รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอน
1. หนอนพยาธิที่สำคัญทางสัตวแพทย์ (01509511) 3 (3-0-6)
2. แมลงมีปีกและโรคที่นำโดยแมลง (01509521) 3 (3-0-6)
3. เห็บและไรที่สำคัญทางสัตวแพทย์ (01509522)  3 (3-0-6)
4. ปรสิตในเลือดและโปรโตซัวที่เป็นปรสิต (01509532) 3(3-0-6)
5. วิทยาภูมิคุ้มกันทางปรสิต (01509541)  3 (3-0-6)
6. ปรสิตวิทยาคลินิกทางสัตวแพทย์ (01509551)  3 (3-0-6)
7. ระบาดวิทยาของโรคปรสิต (01509562)  3 (3-0-6)
8. โรคปรสิตที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน (01509563)  3 (3-0-6)
9. โรคปรสิตของสัตว์ทดลอง (01509564)  2 (2-0-4)
10. โรคปรสิตของสัตว์ป่าและสัตว์พิเศษ (01509565)  2 (2-0-4)
11. โรคปรสิตของสัตว์น้ำ (01509566)  2 (2-0-4)
12. ระเบียบวิธีวิจัยทางปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์ (01509591)  3 (3-0-6)
13. เทคโนโลยีชีวภาพทางปรสิตวิทยา (01509571) 3(3-0-6)
14. เรื่องเฉพาะทางปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์ (01509596) 1-3
15. สัมมนา (01509597)  (1)
16. ปัญหาพิเศษ (01509598) (1-3)
17. วิทยานิพนธ์ (01509599)  (1-12)

หัวข้องานวิจัยในหลักสูตร
เกี่ยวกับเชื้อปรสิตที่ทำให้เกิดโรคทั้งในคนและสัตว์ ระบาดวิทยาของโรคปรสิตในสัตว์ วิทยาภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อปรสิตปรสิตวิทยาโมเลกุล เชื้อปรสิตที่นำโดยอาหาร น้ำ และ สัตว์ขาปล้อง

ความร่วมมือด้านวิชาการ
ภาควิชาปรสิตวิทยา มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ เช่น หน่วยงาน CIRAD และ IRD (ประเทศฝรั่งเศส) มหาวิทยาลัยโอบิฮิโร (ประเทศญี่ปุ่น) มหาวิยาลัย Missouri (ประเทศสหรัฐอเมริกา) มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (ประเทศออสเตรเลีย) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กรมปศุสัตว์